น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

ขอคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. แร่ ฉบับที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ต่อ สนช. เพื่อขอให้เป็นตัวแทนปกป้องสิทธิของประชาชนจากการถูกละเมิดสิทธิ


ประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ
                                                            วันที่ 28 มีนาคม 2559

เรียน  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
เพื่อขอให้เป็นตัวแทนปกป้องสิทธิของประชาชนจากการถูกละเมิดสิทธิ

เรื่องที่ ๑ ขอคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. แร่ ฉบับที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ต่อ สนช. เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙ และทาง สนช. รับหลักการไว้แล้ว เนื่องจากเป็นร่าง พ.ร.บ. แร่ที่อาจจะมิชอบด้วยกฎหมาย  มิชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชน และละเมิดสิทธิของประชาชน
เรื่องที่ ๒ ขอให้แยกแร่ทองคำ ออกจาก พ.ร.บ.แร่ เป็นสมบัติของชาติ เป็นแร่ที่มีกฎหมายคุ้มครองพิเศษ เพื่อให้เป็นทรัพย์ของแผ่นดิน เนื่องจากมีมูลค่ามหาศาล เป็นความมั่นคงของแผ่นดิน ที่ไม่สมควรนำไปรวมไว้ใน พ.ร.บ.แร่ทุกฉบับ
ในการนี้ กลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ (ปปท.) ขอเรียนมายัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โปรดร่วมพิจารณาดำเนินการ เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประเทศไทย และต่อประชาชนคนไทยทุกคนอย่างสูงสุด ดังนี้
เรื่องที่ ๑ ขอคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. แร่ ฉบับที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ต่อ สนช. เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙ ซึ่งทาง สนช. ได้รับหลักการไว้แล้วนั้น
เนื่องจากเป็นร่าง พ.ร.บ.แร่ ที่อาจจะมิชอบด้วยกฎหมาย มิชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชน และละเมิดสิทธิของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ แม้จะกำหนดหลักการ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยแร่และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ และเหตุผล (โดยที่พระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ.๒๕๐๙ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.๒๕๑๐ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันสมควรปรับปรุง โดยนำหลักการของกฎหมายทั้งสองฉบับมาบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน เพื่อให้การอนุญาตและการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่เป็นไปอย่างมีระบบ โดยกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการแร่เพื่อให้เกิดดุลยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลการทำเหมืองให้เหมาะสมกับประเภทและขนาดของการทำเหมือง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแร่ กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดสรรผลประโยชน์จากทรัพยากรแร่ให้แก่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนอันเป็นที่ตั้งของพื้นที่ทำเหมืองและพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง และกำหนดให้มีการจ่ายเงินทดแทนแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของการทำเหมืองใต้ดิน ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้)
ถึงแม้จะเขียนไว้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ แล้วนั้น แต่ยังขัดต่อหลักความจริง กล่าวคือ ตัวอย่างการทำเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร ค่าภาคหลวงแร่ ที่ประเทศไทยได้รับไม่คุ้มค่าต่อการสูญเสียทรัพยากร ป่าไม้ ภูเขา และทองคำ ทีมีมูลค่ามหาศาลไม่คุ้มกับค่าภาคหลวงที่ได้รับเงิน รวมถึงสินแร่อื่นๆ ที่เป็นเร่เคียงอีกจำนวนมากทั่วไป อีกทั้งภาครัฐยังให้ บีโอไอ หรือการไม่เก็บภาษีกับบริษัทอีกเป็นเวลาถึง ๘ ปี โดยค่าภาคหลวงแร่ที่ประเทศไทยได้รับเป็นจำนวนน้อยนิด เมื่อเทียบกับทองคำมูลค่ามหาศาลที่ต่างประเทศได้ประโยชน์ และไม่มีการประเมินความเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ภูเขา ระบบนิเวศ และที่สำคัญชุมชนล่มสลาย ประชาชนเป็นผู้ได้รับผลกระทบ และเดือดร้อน เจ็บป่วย ล้มตายจำนวนมาก แต่ยังไร้การพิสูจน์ทราบอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อเท็จจริง หากการประเมินพิสูจน์ทราบ หรือต้องชดเชย เยียวยาหรือตั้งมูลค่าความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่แท้จริงแล้ว เมื่อเทียบกับค่าภาคหลวงที่รัฐได้รับ มาจากการดำเนินการ อาจจะไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไปหรือกับที่รัฐต้องจ่าย หากมีการพิสูจน์ทราบ เกิดขึ้นอย่างแท้จริง จากนี้ และการทำเหมือง คือการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปอย่างถาวรแม้จะปรับเพิ่มค่าภาคหลวง ก็ไม่คุ้มกับการสูญเสียไป
เหตุผล ถึงแม้จะกำหนดหลักเกณฑ์ ในการจัดสรรผลประโยชน์ จากทรัพยากรแร่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนอันเป็นที่ตั้งของพื้นที่ทำเหมือง และพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง และกำหนดให้มีการจ่ายเงินเป็นค่าทดแทนแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดินอันเป็นที่ตั้ง ของการทำเหมืองใต้ดิน โดยเน้นว่าเพื่อให้เกิดดุลยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อม นั้น อันขัดต่อหลักความจริง กล่าวคือ นอกจากการทำเหมืองที่ประเทศไทยได้ค่าภาคหลวงแร่จำนวนน้อยนิด เมื่อเทียบกับปริมาณทองคำมหาศาลที่ประเทศต้องสูญเสียไปนั้น ไม่สามารถนำรายได้จากค่าภาคหลวง มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมได้ เพราะที่ผ่านมา ค่าภาคหลวง เป็นเพียงนิยามของคำว่ารายได้ของประเทศไทย แต่กลับเป็นรายได้ที่มิอาจจับต้องได้อย่างงแท้จริง และเมื่อคิดเป็นรายได้ที่มาชดเชยความเสียหายของประเทศที่ต้องสูญเสียทรัพยากรไปนั้น เป็นสิ่งที่ความจริงประเทศไทยขาดทุน จึงไม่อาจนำมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้จริง รวมถึงการทำเหมืองได้สูญเสียความรัก ความสามัคคี ปรองดองหรือสังคมชนบท เพราะประชาชนจะแตกแยกจากการมีอำนาจเหนือประชาชนในเขตชนบทที่มีการทำเหมือง และการรักษาสิ่งแวดล้อม ในหลักเหตุผลนี้ ก็เป็นเรื่องที่ขัดกับหลักความจริงอย่างสิ้นเชิง เพราะการทำเหมืองคือการทำลายภูเขา ป่าไม้ แผ่นดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงที่สุด เป็นการทำลายอย่างถาวรและจะกลายเป็นสารพิษที่เกิดจากบ่กากแร่ที่มีแต่สารไซยาไนด์ เข้ามากองอยู่ในประเทศไทย การทำเหมืองจึงไม่ใช่การรักษาสิ่งแวดล้อม หากแต่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงที่สุด โดยไม่อาจฟื้นฟูกลับคืนมาได้ดังเดิมอีกต่อไป
และการกำหนดให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทน แก่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของการทำเหมืองใต้ดิน ก็มิได้ครอบคลุมถึงกรณีประชาชนผู้มีสิทธิ์บนที่ดินทำกิน ในกรณีทำเหมืองทั่วไป ซึ่งปัญหาที่พบแล้ว      เป็นกรณีตัวอย่างของปัญหาคือ ประชาชนผู้อยู่อาศัยทำระโยชน์ในที่ดินส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ไร้กรรมสิทธิ์ และยังไร้เอกสารสิทธิ์ จึงไม่เป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองในที่ดิน ในขณะที่ พ.ร.บ.แร่ ได้ให้สิทธิ์ต่อผู้ยื่นคำขอ และกลายเป็นผู้ได้สิทธิ์ เหนือที่ดินของประชาชนผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนจำนวนมากหลายจังหวัดอยู่ในขณะนี้ อันเป็นปัญหาทับซ้อนที่ประชาชนยังร้องเรียน เนื่องจาก พ.ร.บ.แร่ ละเมิดสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีข้อยุติอยู่ในขณะนี้
ดังตัวอย่างคือ
๑.      อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ได้มีคำขออาชญาบัตรพิเศษ สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ทับซ้อนที่ดินของประชาชน รวมถึงพื้นที่ป่าไม้ รวมจำนวนราวกว่า ๔๐๐,๐๐๐ ไร่
๒.      อำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ได้มีคำขออาชญาบัตรพิเศษ สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ทับซ้อนที่ดินทำกินของประชาชน จำนวนราว ๑๕๐,๐๐๐ ไร่
๓.      จังหวัดเพชรบูรณ์ มีคำขออาชญาบัตรพิเศษ สำรวจ และทำเหมืองแร่ทองคำจำนวนราว ๕๐๐,๐๐๐ไร่ ทับซ้อนที่ดินทำกินของประชาชน
๔.      จังหวัดสระบุรี ในเขตพื้นที่ตำบลลำพญากลาง ตำบลลำสมพุง มีคำขออาชญาบัตรพิเศษ สำรวจ และทำเหมืองแร่ทองคำ ทับซ้อนที่ดินทำกินของประชาชน จำนวนราว ๖๕,๐๐๐ ไร่
๕.      อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร และพื้นที่ใกล้เคียง มีคำขออาชญาบัตรพิเศษ สำรวจ และทำเหมืองแร่ทองคำ จำนวนราวกว่า ๒๐๐,๐๐๐ ไร่ ทับซ้อนที่ดินทำกินของประชาชน
ซึ่งปัญหาที่พบคือ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน จึงไม่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ อีกทั้ง ในส่วนที่มีเอกสารสิทธิ์ แล้วก็มีปัญหาคือ ในเขตอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ประชาชนถูกยกเลิกโฉนดที่ดิน จำนวน ๓ ตำบล ๑๑ หมู่บ้าน ในจังหวัดลพบุรี มีการยกเลิกโฉนดที่ดิน และ นส.๓ ก ในจังหวัดสระบุรี มีการยกเลิกเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทั้งหมดถูกยกเลิกเพื่อเอากลับไปเป็นที่ป่า และมีการอ้างว่า ออกไปโดยมิชอบทับที่ป่าไม้ และมีการกำหนดผังเมืองเป็นเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทุกจังหวัดที่กล่าวมา ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกับที่มีการขออาชญาบัตรพิเศษครอบคลุมไว้แล้ว และประชาชนที่อยู่อาศัยทำกินบนที่ดินเดิมจะกลายเป็นผู้ขาดสิทธิ์ครอบครอง ในขณะที่เหมืองทำได้อย่างถูกกฎหมายในพื้นที่ป่าไม้
จึงเป็นการเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์จากที่ดิน จากการใช้ทรัพยากร และที่สำคัญกลายเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนในการอยู่อาศัยอย่างสงบ  ในที่ดินเดิมของตน อันเป็นการขัดต่อสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
จึงเป็นหลักการ และเหตุผล ในร่าง พ.ร.บ.แร่ ที่ขัดต่อหลักสิทธิของประชาชน ที่อาศัยบนแผ่นดินอย่างสงบสุขตามรัฐธรรมนูญอย่างสิ้นเชิง และกลายเป็นการเปิดช่องให้ประชาชนถูกแย่งสิทธิ์ครอบครองในที่ดิน จากการใช้กฎหมายได้โดยง่าย จึงเป็นหลักการและเหตุผลที่มิชอบหลักด้วยกฎหมาย
การให้สัมปทานทองคำ ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากประเทศไทยได้เพียงค่าภาคหลวงแร่ ที่ไม่คุ้มกับการสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ป่าไม้ ภูเขาถูกทำลาย ซึ่งหลักความจริงไม่สามารถฟื้นฟูให้คืนสภาพเป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ดังเดิมได้อีกต่อไป ไม่สามารถทำให้แหล่งน้ำบนดิน ใต้ดิน กลับมาสะอาดบริสุทธิ์ดังเดิมได้ รวมถึงประชาชนในพื้นที่บริเวณรอบเหมือง ไม่ได้รับการแก้ไข ช่วยเหลือหรือการพิสูจน์ทราบ  ในขณะเดียวกันการปนเปื้อนที่ขยายวงกว้าง ทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหาย การปนเปื้อนที่กระจายสู่ พืชผัก ข้าว  ดิน น้ำ อันเป็นการเสียหายต่อระบบนิเวศต่อการอยู่อาศัย และเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ในขณะที่ผลประโยชน์มหาศาล จากการขุดทองคำ ตกเป็นของนายทุนข้ามชาติ มิใช่เป็นประโยชน์ของแผ่นดินประเทศไทยและคนไทย
การส่งเสริมให้มีการสัมปทานเพิ่มขึ้น จะเป็นเหตุให้ขยายพื้นที่การปนเปื้อน อาจส่งผลต่อพื้นที่เกษตร ซึ่งเป็นพื้นที่หลักสำคัญอันเป็นหัวใจของการส่งออกของพืชผลทางการเกษตรที่จะนำมาพัฒนาประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยได้อย่างยิ่งขึ้นสืบไป ต้องกระทบการปนเปื้อน อาจถูกปฏิเสธการซื้อพืชผลทางการเกษตรจากต่างประเทศ รวมถึงที่ดินที่ถูกขุดทำลายไปเป็นจำนวนมาก จากการได้สัมปทาน ในที่สุดประเทศไทยจะถูกทำลายและถูกปฏิเสธ จากต่างประเทศ รวมถึงการปนเปื้อนในพืชผักยังจะกระจายสู่คนไทยผู้บริโภคในประเทศ อันเป็นความเสียหายทางความมั่นคงของแผ่นดินอย่างร้ายแรง ในขณะที่คนไทยไม่ได้ประโยชน์จากการให้สัมปทาน นอกจากเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
หมวด ๑ นโยบายในการบริหารจัดการแร่
มาตรา ๗ รัฐมีหน้าที่ในการบริหารจัดการแร่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างยั่งยืน โดยต้องคำนึงถึงดุลยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน รวมทั้งการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างรัฐ ผู้ประกอบการ และชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ทำเหมืองและพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม
เป็นการขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน เนื่องจากรัฐกลายเป็นผู้มีอำนาจบริหารจัดการแร่ ร่วมกับผู้ประกอบการ และชุมชนท้องถิ่นจะกลายเป็นเพียงภาพประกอบ ซึ่งไม่สามารถมีส่วนร่วมได้จริงในทางปฏิบัติ  อันเป็นการผูกขาดอำนาจระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการ โดยประชาชนไม่เป็นผู้มีสิทธิอย่างแท้จริง
ซึ่งข้อเท็จจริง แร่ต้องเป็นสิทธิของประชาชนคนไทยทุกคน ประชาชนต้องเป็นผู้มีอำนาจบริหารจัดการ จึงเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ ละเมิดสิทธิของชุมชน และเป็นการผูกขาดอำนาจ อันอาจจะเอื้อประโยชน์ระหว่างรัฐ และเอกชนอันเป็นการขัดต่อหลักกฎหมาย
มาตรา ๘ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยการสำรวจทรัพยากรแร่ แหล่งแร่สำรอง การจำแนกเขตพื้นที่ศักยภาพแร่ พื้นที่ที่สมควรสงวนหวงห้ามหรือนุรักษ์ไว้ และพื้นที่ที่มีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงที่จะกำหนดให้เป็นเขตเพื่อการทำเหมืองแร่ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการแร่ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยการจัดทำต้องมีการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนทราบเว้นแต่ข้อมูลของแร่ประเภทที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และให้มีการจัดทำหรือปรับปรุงข้อมูลทุก 15 ปี
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่
ขัดกับหลักสิทธิของประชาชน เนื่องจากอาจมีการเปิดช่องให้ปกปิดข้อมูลของแร่สำคัญเช่นทองคำได้ เมื่อยกผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ในขณะที่แร่ทองคำ เป็นแร่สำคัญของแผ่นดิน และมีความมั่นคง ในการเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน อาจถูกปิดบังได้ตามมาตรานี้ อันเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนคนไทย                 ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและขัดต่อความมั่นคงของแผ่นดิน เนื่องจากทองคำเป็นทรัพยากรสำคัญ มีมูลค่ามหาศาลของประเทศไทย
มาตรา ๙ ห้ามมิให้ทำเหมืองในพื้นที่ที่แผนแม่บทบริหารจัดการแร่กำหนดให้มีการสงวนหวงห้าม หรืออนุรักษ์ไว้เว้นแต่มีความจำเป็นในทางเศรษฐกิจและไม่สามารถหาพื้นที่อื่นทดแทนได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ขัดกับหลักสิทธิของประชาชน เป็นการให้อำนาจผูกขาดต่อคณะรัฐมนตรี อันเป็นการเปิดช่องว่าง เว้นแต่มีความจำเป็นในทางเศรษฐกิจและไม่สามารถหาพื้นที่อื่นทดแทนได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
เนื่องจากสามารถทำได้ไม่เว้นแม้แต่ในพื้นที่กำหนดให้มีการสงวนหวงห้ามหรืออนุรักษ์ไว้ เพียงอ้างว่ามีความจำเป็นทางเศรษฐกิจ จึงเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากแร่เป็นสิทธิของประชาชนคนไทยทุกคน
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศกำหนดพื้นที่ให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองได้เป็นอันดับแรกก่อนการสงวน หวงหาม หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นในพื้นที่นั่น โดยพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองแร่ได้ต้องเป็นพื้นที่ดังต่อไปนี้
๑.      มีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง
๒.      มิใช่พื้นที่ที่กฎหมายเฉพาะห้ามการเข้าใช้ประโยชน์ใดๆ โดยเด็ดขาด รวมถึงพื้นที่เขตปลอดภัยและความมั่นคงแห่งชาติ
ขัดกับหลักสิทธิของประชาชน เนื่องจากเป็นการส่งเสริมให้มีการทำเหมืองแร่ได้ ในพื้นที่อันได้ก่อนการสงวนหวงห้าม แม้(2) จะกำหนดว่า มิใช่พื้นที่ ที่มีกฎหมายเฉพาะห้ามการเข้าใช้ประโยชน์ใดๆ โดยเด็ดขาด รวมถึงพื้นที่ เขตปลอดภัยและความมั่นคงแห่งชาตินั้น มิได้หมายรวมถึงพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ต้นน้ำ เพราะพื้นที่ดังกล่าวนี้มิได้เป็นพื้นที่ ที่ถูกระบุไว้ว่า ห้ามใช้ประโยชน์ใดๆ โดยเด็ดขาดจึงไม่จัดอยู่ในพื้นที่คุ้มครองตามมาตรานี้ อันเป็นการส่งเสริมให้ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มขึ้น จาการทำเหมืองเพียงอ้างว่า มีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์ และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ก็สามารถใช้พื้นที่ป่าไม้ทำเหมืองได้อย่างง่ายดาย และจะถูกนำพื้นที่มาใช้ทำเหมืองได้ โดยปราศจากการหวงห้ามทั้งสิ้น
อันเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน ละเมิดสิทธิของชุมชน และเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงที่สุด
มาตรา ๑๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจนำพื้นที่ที่มีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง มาประกาศให้มีการประมูลแหล่งแร่ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ชนะการประมูลได้สิทธิในการสำรวจแร่และทำเหมืองในพื้นที่นั้น
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการประมูล และการยกเลิกการประมูล ตลอดจนการให้ผลประโยขน์ตอบแทนแก่รัฐ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ
ประกาศตามวรรคสองต้องกำหนดสัดส่วนของผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐ และสัดส่วนที่จะแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของเขตพื้นที่การทำเหมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกับเขตพื้นที่การทำเหมืองซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองด้วย
ผู้ชนะการประมูลตามวรรคหนึ่ง ต้องดำเนินการสำรวจแร่หรือเหมืองแร่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่พื้นที่ตามวรรคหนึ่งมีคำขออาชญาบัตรหรือคำขอประทานบัตรที่ได้ยื่นไว้แล้ว ให้ถือว่าเป็นคำขอที่ไม่อนุญาตได้ และให้จำหน่ายคำขอดังกล่าวออกจากทะเบียนคำขอ เว้นแต่ในกรณีที่คำขอนั้นทับซ้อนพื้นที่ตามวรรคหนึ่งบางส่วน ให้ส่วนที่ไม่ทับซอนยังคงดำเนินการเพื่อขออนุญาตหรือไม่อนุญาตคำขอนั้นต่อไปได้
ขัดกับหลักของกฎหมาย/หลักสิทธิของประชาชน เนื่องจาก การประมูลโดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐ และสัดส่วนที่จะแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการทุจริตระหว่างรัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อาจไม่ตกถึงประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ ซึ่งประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังตัวอย่างของปัญหาพื้นที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในตำบลลำพญากลาง ตำบลลำสมพุง ที่มีพฤติการณ์ปกปิดประชาชน โดยไม่มีการประกาศให้ประชาชนทราบตามที่ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.๒๕๑๐ รวมถึงพบพยานหลักฐานว่า องค์การบริหารส่วนตำบลลำสมพุง เป็นผู้บรรทุกน้ำไปให้เอกชนเจาะสำรวจแร่เสียเอง ในขณะที่ยังไม่ได้รับอาชญาบัตรสำรวจจากรัฐมนตรี อันเป็นตัวอย่างการกระทำที่เข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชน และเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิของประชาชน ในขณะที่คำขออาชญาบัตรทับซ้อนที่ดินทำกินของประชาชน ที่ยังไม่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจำนวนมาก และยังอยู่ในระหว่างรอการได้สิทธิสัมปทานอยู่ในขณะนี้ หากการคัดค้านสัมปทานทองคำ คัดค้านนโยบายทองคำไม่สำเร็จ และการประมูล จะเป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริตกระทำผิดกฎหมายในลักษณะ การฮั้วประมูล ได้ง่ายขึ้น อันจะเปิดการผูกขาดให้กับกลุ่มทุนผู้มีอำนาจ โดยเป็นการปิดโอกาสในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ตัวอย่างเช่น มีกลุ่มบริษัท คิงส์เกต เป็นกลุ่มบริษัทเดียว แต่มีหลายบริษัทย่อย ได้แยกยื่นขออาชญาบัตรไว้รอล่วงหน้าแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ. แร่ฉบับนี้ หากเมื่อนำมาประกอบกับ พ.ร.บ.แร่นี้ตาม
มาตรา ๑๘๘ บรรดาอาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.๒๕๑๐ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้จนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน
บรรดาข้อผูกพันตามสัญญาต่างๆ ซึ่งมีอยู่กับรัฐบาลไทยโดยกระทรวงอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป ตามข้อผูกพันแห่งสัญญานั้นๆ ทั้งนี้ จนกว่าผลการใช้บังคับตามสัญญาจะสิ้นสุดลง
ซึ่งอาจเป็นการผูกขาดหรืออาจจะเข้าข่ายฮั้วประมูล อันเป็นการได้ประโยชน์เพียงกลุ่มเดียวที่อาจเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อหลักกฎหมาย ขัดต่อสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ และขัดต่อความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากทรัพยากรแร่ และทองคำเป็นสมบัติมหาศาลที่เป็นความมั่นคงของแผ่นดิน และควรเป็นสิทธิของประชาชนคนไทยทุกคน หาใช่เป็นผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดไม่
มาตรา ๒๙ ในเขตอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ เขตอาชญาบัตรพิเศษ หรือเขตเหมืองแร่ ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ถืออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ผู้ถืออาชญาบัตรพิเศษ ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาต เข้าไปยึดถือหรือครอบครองพื้นที่ในเขตนั้น เว้นแต่ผู้นั้นมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย
การฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง นอกจากเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นแล้ว ให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตด้วยแล้วแต่กรณี
ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน/ขัดต่อหลักสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตัวอย่างที่พบในการขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ของกลุ่มบริษัท คิงส์เกต ได้ยื่นคำขออาชญาบัตรพิเศษทับซ้อนที่ดินทำกินของประชาชนจำนวนมาก ในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก สระบุรี ลพบุรี ระยอง จันทบุรี เพชรบูรณ์ โดยมีการระบุพื้นที่ทุกจังหวัดที่กล่าวนี้ เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ในขณะนี้ประชาชนยังอาศัยทำกินในที่ดิน และไม่เคยทราบเรื่อง ไม่เคยอนุญาตให้เอาสิทธินี้ไปใช้ จึงเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเอาสิทธิของประชาชนไปโดยไม่ได้รับความยินยอม และไม่ได้รับอนุญาต อันเกิดจากผลของ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.๒๕๑๐ มาตรา ๑๒ รวมถึง พ.ร.บ.แร่ฉบับนี้ มาตรา ๒๙ ซึ่งยังคงเนื้อหาเดียวกันได้เปิดช่องไว้ให้กับผู้ยื่นคำขออาชญาบัตรผูกขาด อาชญาบัตรพิเศษ สามารถยื่นคำขอโดยมิได้จำกัดว่า เป็นที่ดินตามสิทธิของผู้ยื่นคำขอหรือไม่ หากแต่ผู้ยื่นกลับเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ตาม พ.ร.บ.แร่ มาตรานี้ จึงส่งผลให้ผู้ขอและผู้ได้รับอาชญาบัตรผูกขาดอาชญาบัตรพิเศษ เป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินภายใต้คำขอดังกล่าว และประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ ยังไร้เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงกลายเป็นผู้กระทำผิด ฝ่าฝืนสิทธิของผู้ถืออาชญาบัตร จึงกลายเป็น พ.ร.บ.แร่มาตรา ๒๙ ประกอบกับ พ.ร.บ.แร่มาตรา ๑๘๘ มาตรา ๑๓ มีสิทธิเหนือสิทธิของประชาชน อันเป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการอาจจะเข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ภายใต้การประมูล โดยมีลักษณะเป็นการใช้กฎหมาย ปล้นสิทธิของประชาชน
ส่วนที่ ๒ การขอประทานบัตร
มาตรา ๕๑ ผู้ใดประสงค์จะขอประทานบัตร ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ เว้นแต่กรณีมาตรา ๕๐ ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เขตพื้นที่การทำเหมืองตั้งอยู่ โดยพื้นที่ที่ยื่นคำขอต้องไม่เกินเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
ผู้ยื่นคำขอประทานบัตรต้องส่งเอกสารหรือหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมคำขอ
๑.      หลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าพบแร่ชนิดที่ประสงค์จะเปิดการทำเหมืองอยู่ในเขตคำขอตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๒.      ข้อเสนอผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
๓.      เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิจะทำเหมืองในเขตคำขอนั้นได้ เว้นแต่พื้นที่ที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ ให้ยื่นหลักฐานการขออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เพื่อการทำเหมืองในพื้นที่ดังกล่าวจากหน่วยงานของรัฐก่อนการพิจารณาอนุญาต
๔.      เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๔๘
การกำหนดหลักเกณฑ์การเสนอผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐตามวรรคสอง (๒) ให้กำหนดวิธีการในการจัดสรรผลประโยชน์พิเศษที่จะแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของเขตพื้นที่การทำเหมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกับเขตพื้นที่การทำเหมืองซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองด้วย
ผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐตามวรรคสอง (๒) ใช้ในการสำรวจหรือศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแร่หรือเพื่อใช้ในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
อันเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน เนื่องจาก (3) เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิจะทำเหมืองในเขตคำขอนั้นได้ เว้นแต่พื้นที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐให้ยื่นหลักฐานการอนุญาต
แต่ในขณะที่ประชาชน ยังอยู่อาศัยในที่ดินทำกิน ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดินบางส่วนมีเพียงเอกสารการเสียภาษีบำรุงท้องที่ บางส่วนเป็นเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. บางส่วนเป็นโฉนดชุมชน บางส่วนเป็นป่าไม้เสื่อมโทรม อันยังเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งผู้ขอสามารถขอให้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อทำเหมืองจากรัฐได้เลย ทำให้เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคนไทยยังมีสิทธิอาศัยบนแผ่นดินได้อย่างสงบสุข
จึงเป็นร่าง พ.ร.บ.แร่ที่มิชอบด้วยกฎหมาย และมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๓ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
มาตรา ๘๒ ในการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา ๗๗ วรรคหนึ่ง ครั้งใด ให้ผ็ขอประทานบัตรจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๘๑ (๒) เพื่อดำเนินการศึกษารายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
อันขัดต่อความเห็นและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนผู้ควรจะมีสิทธิติดสินใจอย่างชอบธรรมด้วยตนเอง  เนื่องจากอาจเปิดช่องให้ผู้ขอ จ่ายเงินเป็นการแลกกับการลงชื่อ อันเป็นการสนับสนุนให้เกิดการทำเหมืองมากกว่าการทบทวนข้อเท็จจริง อันเป็นการมิชอบด้วยหลักสิทธิของชุมชน และสิทธิของประชาชนอย่างแท้จริง
จึงเป็นร่าง พ.ร.บ.แร่ ที่มิชอบด้วยหลักกฎหมาย มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มิชอบด้วยหลักสิทธิของประชาชน ละเมิดกฎหมายระหว่างสิทธิในที่ดิน และ พ.ร.บ.แร่ ที่ยังทับซ้อนกัน ไม่ชัดเจนในเรื่องการดำเนินการอันเป็นผลทำให้สิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญถูกละเมิดเสียหายร้ายแรงจาก พ.ร.บ.แร่ฉบับนี้ อีกทั้งเป็นการเอื้อประโยชน์ได้โดยง่ายจากการใช้ระบบประมูล อันเป็นการจะนำไปสู่ความเสียหายของรัฐ และเป็นการผูกขาดทรัพยากรเป็นสำคัญของรัฐ และรัฐจะเป็นผู้มีอำนาจจัดการบริหาร ในขณะที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึง และไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อันเปิดช่องให้รัฐกับเอกชน ร่วมมือกันบริหารจัดการทรัพยากรแร่ได้อย่างเปิดกว้าง และไม่มีประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วม อย่างแท้จริงอีกทั้งอันเป็นร่างที่มิชอบด้วยกฎหมาย อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุน โดยก่อนหน้านี้ได้มีการร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในคดีเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งอาจเป็นนโยบายทุจริต และมิชอบด้วยกฎหมาย ในการดำเนินการต่อที่ดินของประชาชน และพื้นที่มีคำขออาชญาบัตรพิเศษ สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ของกลุ่มคิงส์เกต ที่ทับซ้อนที่ดินทำกินของประชาชน อันเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนจำนวนมาก ในหลายจังหวัด และขณะนี้ได้ตั้งไต่สวนแล้ว อันเป็นคดีระหว่างประเทศ ซึ่งคิงส์เกตอาจจะติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐไทย ในการทำเหมืองแร่ทองคำ และกำลังอยู่ในระหว่างการไต่สวนในคดีนี้
รวมถึงในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ผ่านมาประชาชน ได้คัดค้านคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ในการแก้ไขปัญหาเหมืองแร่ทองคำจังหวัดพิจิตร เนื่องจากเป็นการซ้ำซ้อนกับคำสั่งเดิมในปลายปี พ.ศ.๒๕๕๗ ของท่านพลเอกประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี ในการแก้ไขปัญหาเหมืองแร่ทองคำจังหวัดพิจิตร เนื่องจากอาจจะเสียหายต่อการดำเนินการ จากกรรมการเดิม ที่ใกล้ได้ข้อสรุป โดยกรรมการใหม่และเปิดกว้างให้มีบุคคลเข้ามาดำเนินการจำนวนมาก ซึ่งแผนการดำเนินงานรวมถึงกรอบระยะเวลาไม่ชัดเจน และล่าสุดมีการเร่งรีบอย่างผิดปกติ หลังกระทรวงอุตสาหกรรมยื่นร่าง พ.ร.บ.แร่ เข้าสู่ สนช. และระบุว่า จะมีการเร่งนำผลศึกษาเหมืองทองคำจังหวัดพิจิตรเข้า ครม. ผลจากการเข้าร่วมประชุมที่ ก.พ.ร. ในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙ พบว่าได้มีการนัดประชุมอย่างเร่งรีบ แต่มีผู้ดำเนินการเข้าร่วมประชุมไม่ครบ และพบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมควบคุมมลพิษ แจ้งว่าผลการพบไซยาไนด์ ไม่ชัดเจน ในขณะที่ก่อนหน้านี้เดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ได้ตรวจพบไซยาไนด์ในแปลงนาข้าวข้างบ่อเก็บกักกากแร่มาแล้วถึง ๒ ครั้งรวมถึงล่าสุด ผลการตรวจเลือดของประชาชนของมหาวิทยาลัยรังสิต จากการเปิดเผยของ ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิธ พบว่ามีไซยาไนด์อยู่ในเลือดของประชาชนจำนวนมาก และในวันดังกล่าวมี                   ผศ.ดร.สิตางค์ พิลัยราช ตำแหน่งคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาของบริษัทอัครา ที่เป็นชุดทำงานเดิมตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันโอชา ได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง ขอให้การประชุมวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นโมฆะ เนื่องจากเกรงว่าอาจจะเกิดความไม่ชอบธรรมขึ้นต่อประชาชนและการพิสูจน์ทราบ ยังไม่มีข้อยุติ เหตุทั้งหมดดังกล่าวนี้ อาจจะมีการเร่งรีบนำไปผลักดันเพื่อเข้า ครม. และอาจนำไปประกอบความเห็นร่าง พ.ร.บ.แร่ที่ถูกเสนอเข้าสู่ สนช. และรับหลักการไว้แล้วนั้น อันอาจจะเข้าข่าวการกระทำที่มิชอบหรือาจจะเพื่อเอื้อประโยชน์
ตัวแทนประชาชนในนามกลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ (ปปท.) จำนวนราว ๓๐ คนจึงได้นำส่งเรื่องนี้ไปยัง ป.ป.ช. ด้วยในวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เนื่องจากเกรงว่าอาจจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงในคดีเหมืองทองคำที่ ป.ป.ช. กำกลังไต่สวนในขณะนี้ รวมถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ก็ได้รับคดีเหมืองทองเป็นคดีพิเศษและกำลังสืบสวนสอบสวนในคดีเหมืองทองคำนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลการดำเนินการแก้ไขผลกระทบดังกล่าวจะมีผลต่อรูปคดี ในด้านสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการ แก้ไข ตรวจสอบ พิสูจน์ทราบ เพื่อนำผลไปเป็นหลักฐานในทางคดีอันก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชน แต่หากผลการเร่งดำเนินการ อาจกลายเป็นทำให้คดีเสียหาย จึงมีความจะเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในการดำเนินการดังกล่าว
จึงขอกราบเรียนมายัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โปรดร่วมพิจารณายกเลิกร่าง พ.ร.บ.แร่ฉบับนี้ เพื่อให้ตกไป

เรื่องที่ ๒ ขอให้แยกแร่ทองคำ ออกจาก พ.ร.บ.แร่ เพื่อเป็นสมบัติของชาติ ให้เป็นแร่ที่มีกฎหมายคุ้มครองพิเศษ เพื่อให้เป็นทรัพย์ของแผ่นดิน
เนื่องจากมีมูลค่ามหาศาล อันเป็นความมั่นคงของแผ่นดิน ที่ไม่สมควรนำไปรวมไว้ใน พ.ร.บ.แร่ทุกฉบับ เพื่อกำหนดให้แร่ทองคำคุ้มครองภายใต้กฎหมายพิเศษเพราะเป็นแร่ที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ เป็นสมบัติของแผ่นดิน เป็นสมบัติของแผ่นดินที่มีมูลค่ามหาศาล สามารถค้ำจุนประเทศได้อย่างมั่นคง ให้ทองคำเป็นแร่พิเศษเฉพาะ ที่ควรกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญคุ้มครอง โดยห้ามมิให้มีการอนุมัติ อนุญาตให้ต่างชาติสัมปทาน และห้ามคนไทยเป็นตัวแทนถือหุ้น แทนต่างชาติในการสัมปทานทองคำ และห้ามบุคคลใดสัมปทานทองคำเพื่อประโยชน์ส่วนตน เพื่อกำหนดให้ทองคำที่ได้มาจากแผ่นดินประเทศไทยถูกนำเข้าไปไว้ในคลังหลวง เพื่อเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดินประเทศไทย และเพื่อปวงชนชาวไทยเป็นสำคัญอย่างแท้จริง หากมีการลักลอบขุดทองคำให้ถือเป็นความผิดร้ายแรงต่ออาญาแผ่นดิน เนื่องจากเป็นแร่ทองคำที่เป็นหลักของความมั่นคงของประเทศ และห้ามสัมปทานหรือประมูลแร่อื่น ในเขตแหล่งพื้นที่ที่มีศักยภาพแร่ทองคำอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อแร่ทองคำที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดิน
เนื่องจากทองคำ เป็นสมบัติชาติที่สามารถค้ำจุนความมั่นคงของประเทศได้อย่างถาวร ดังตัวอย่างของเรื่อง
๑.      เงินถุงแดง ไถ่ถอนบ้านเมือง (รักษาเอกราชของชาติไทย ในปี พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒ กรุงเทพมหานคร) ถูกยึดครองเป็นเวลาถึง 12 วัน ด้วยกองเรือรบติดอาวุธของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสยื่นคำขาด ให้จ่ายค่าสินไหมในเวลา ๔๘ ชั่วโมงไม่เช่นนั้นจะยึดเมืองไทย แต่เงินในท้องพระคลังมีไม่พอ สมเด็จพระปิยมหาราช จึงตัดพระทัย นำเงินถุงแดงออกมาสบทบกู้ชาติไทยไว้ได้ คราวนี้ต้องเทถุงกันหมด เงินถุงแดงข้างพระที่ ๆ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้ด้วย มีพระราชดำรัวว่า เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง ก็ได้ใช้จริงในคราวนี้)
๒.      หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ทอดผ้าป่านำเงินดอลลาร์และทองคำเข้าคลังหลวง เพื่อความมั่นคงของประเทศ (ทอดผ้าป่าเพื่อนำเงินดอลลาร์และทองคำเข้าคลังหลวง เพื่อพยุงชาติ อันเป็นตัวอย่างของการนำทรัพย์สินเข้าคลังเพื่อความมั่นคงของประเทศ)
๓.      ตัวอย่างของประเทศรัสเซีย ที่กว้านซื้อทองคำเข้าประเทศ เป็นการพยุงความมั่นคงของประเทศ และเพื่อความมั่งคั่ง
๔.      ประเทศจีนแม้จะมีแหล่งทองคำขนาดใหญ่ ในขณะที่ทองคำเป็นของรัฐบาล แต่จีนก็ยังกว้านซื้อทองคำ เข้าเป็นสมบัติของประเทศ ทำให้ค่าเงินสูงขึ้น และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างมาก
ในขณะที่ประเทศไทย มีทองคำเป็นทรัพยากรในแผ่นดินของตน ซึ่งปรากฏตามเอกสารของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ เรื่องพบแหล่งทองคำในไทยกว่า ๗๖ แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ ๓๑ จังหวัด มูลค่ากว่า ๑ ล้านล้านบาท โดยนายอดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดเผยไว้
อันเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถยืนยันได้ว่าประเทศไทยมีทองคำมูลค่ามหาศาลจริง และเป็นทรัพย์ที่นำความมั่นคงของประเทศไทยอย่างแท้จริง หากมีการเก็บรักษาไว้ให้เป็นสมบัติของชาติไทย และห้ามสัมปทานหรือประมูลให้กับบุคคลใดทั้งนั้น สิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับ คือความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สังคม และเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่มั่นคงถาวร ด้วยมูลค่าทองคำจำนวนมหาศาลนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรต้องกำหนดแยกเป็นแร่พิเศษเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย และเพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยทุกคนอย่างแท้จริง
จึงเรียนมาเพื่อร่วมพิจารณาแยกแร่ทองคำ ออกจาก พ.ร.บ.แร่ และกำหนดให้เป็นแร่คุ้มครองพิเศษ เพื่อสมบัติของแผ่นดินประเทศไทยและของคนไทยทุกคนสืบไป

กลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ
รายชื่อตัวแทนประชาชนยื่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

วันที่ 28 มีนาคม 2559




รับบริจาคกระดาษ A4 เพื่อชี้แจงปัญหาการทำเหมืองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 50 รีม