น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

28 มีนาคม 2559: ยื่นหนังสือขอให้แก้กฎหมายและรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)


กลุ่มประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากร  และทองคำ (ปปท.)
วันที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙

กราบเรียน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 เรื่อง    ขอให้แก้กฎหมายและรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน
สิ่งที่ส่งมาด้วย  หนังสือรวมปัญหากฎกระทรวงและที่ดิน   จำนวน 50 เล่ม

          ด้วยประชาชนได้รับความเดือดร้อน ไม่เป็นธรรม ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน จึงควรแก้กฎหมายและรังวัดออกโฉนดที่ดินให้ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ซึ่งอาจเกิดจากการผิดพลาดตกหล่น ปัญหาเกิดขึ้นหลายจังหวัด ดังนี้
         ๑. จังหวัดสระบุรี
          ราษฎรในพื้นที่ตำบลลำพญากลาง ตำบลลำสมพุง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ได้รับ             ความเดือดร้อนเนื่องจากสาเหตุดังนี้
                    กฎกระทรวงฉบับที่ ๒๑๖ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช ๒๔๘๑ กำหนดให้ป่าลานท่าฤทธิ์ และป่าลำพญากลาง ในท้องที่ตำบลคำพราน              อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวน พื้นที่ประมาณ ๓๑๗,๖๕๐.๐๐ ไร่
                             พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ให้เป็นเขต ปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2520 กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เนื่องจากมีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และที่ดินมีผลผลิต่อไร่ต่ำ จึงสมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
                   กฎกระทรวงฉบับที่ ๙๖๗ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ กำหนดให้ป่าลานท่าฤทธิ์ ในท้องที่ตำบลวังม่วง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ประมาณ ๕,๘๐๐ ไร่
                   กฎกระทรวงฉบับที่ ๙๘๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ กำหนดให้เพิกถอนป่าลานท่าฤทธิ์  ป่าลำทองหลาง และป่าลำพญากลาง ในท้องที่ตำบลวังม่วง ตำบลลำพญากลาง ตำบลคำพราน และตำบลย่างเสือ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๑๖           (พ.ศ. ๒๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช ๒๔๘๑  ออกจากการเป็น          ป่าสงวนแห่งชาติบางส่วน พื้นที่ประมาณ ๑๙๒,๖๕๖.๒๕ ไร่
                   กฎกระทรวงฉบับที่ ๑,๐๗๒ (พ.ศ.๒๕๒๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ กำหนดให้ป่าทับกวางและป่ามวกเหล็ก แปลงที่ ๑ ในท้องที่ตำบลแสวงพัน             ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก และตำบลท่าคล้อ ตำบลบ้านป่า ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย              จังหวัดสระบุรี เป็นป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ประมาณ ๙๗,๓๕๐ ไร่
          ด้วยเหตุดังกล่าวมาข้างต้นประชาชนที่อยู่อาศัยทำกินในท้องที่ดังกล่าวจึงยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นของตนเอง ไม่มีหลักประกันในการดำรงชีพ ไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐได้ นับว่าเป็นความเดือดร้อนอันแสนสาหัส และปรากฏขึ้นมาช้านานแล้ว บางคนอยู่ในท้องที่ดังกล่าวตั้งแต่รุ่นปู่ เป็นความไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในท้องที่นี้ ขาดความมั่นคงในชีวิตความมั่นคง             ในทรัพย์สิน และมีอนาคตที่เลื่อนลอย ทำให้ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบมาประกอบอาชีพ
          ทั้งนี้ สภาพแห่งความเป็นจริงประชาชนได้อาศัยอยู่ในท้องที่ดังกล่าวโดยได้รับอนุญาตเพราะเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ได้เสียภาษี ภบท. ๕ ให้กับรัฐ ต่อมารัฐได้จัดการปฏิรูปที่ดิน บางคนก็ได้สิทธิ สปก. ๔-๐๑         บางคนก็ไม่ได้ อีกทั้งในปัจจุบัน สำนักงานปฏิรูปที่ดินยังยกเลิกสิทธิ สปก. ๔-๐๑ ของชาวบ้านแล้วด้วยเหตุ        จะคืนพื้นที่ให้ป่า ทั้งๆ ที่พื้นที่นี้เป็นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ มีเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ              มีวัดหลายสิบวัด มีโรงเรียนหลายสิบโรง มีตลาด มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีสหกรณ์โคนมหลายแห่ง พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เลี้ยงโคนม พื้นที่ปลูกอ้อย ข้าวโพดพอทำให้ชาวบ้าน           มีรายได้เลี้ยงชีพแต่ไม่มีความมั่นคงเพราะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างแท้จริง ตามเอกสารภาพถ่าย               (เอกสารภาพถ่าย หน้าที่ 2 – 20 )
          แต่พื้นที่ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ติดอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ภูเขาสูง ป่าไม้ หุบเขา แต่กลับมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินเป็นโฉนด ที่ทั้งบ้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บ้านนายสรยุทธ ผู้ประกาศข่าวช่อง ๓ บ้านของตระกูลชินวัตร ตามเอกสารภาพถ่าย              (เอกสารภาพถ่ายหน้าที่ 55 - 112) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่เจริญอย่างมาก แตกต่างจากจังหวัดสระบุรี เป็นความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ที่ประชาชนอำเภอมวกเหล็กได้รับความเดือดร้อนอย่างสาหัสมายาวนาน และยังอาจถูกสัมปทานเหมืองทองคำมาขับไล่ออกจากที่ดินอีกต่างหากเพราะได้ขอสำรวจไว้แล้ว และคำขอดังกล่าวจะเป็นสิทธิของผู้ขอตามพระราชบัญญัติแร่ พุทธศักราช 2510 มาตรา ๑๒๓๐                                 
“ในเขตอาชญาบัตรผูกขาดสํารวจแร่ เขตอาชญาบัตรพิเศษ หรือเขตเหมืองแร่ หรือในเขตที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทราย หรือในเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กําหนดเขตเพื่อการดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตเข้าไปยึดถือครอบครอง ทําลาย หรือทําให้เสื่อมสภาพพื้นที่หรือทรัพยากรในเขตนั้น เว้นแต่ผู้นั้นมีสิทธิทําเช่นนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย”
ดังนั้นจึงให้ยกเลิกคำขออาชญาบัตร อาชญาบัตรพิเศษสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ คำขอสัมปทานทั้งหมด ออกจากที่ดินของประชาชน เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ให้กรรมสิทธิตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
          ๒. จังหวัดลพบุรี
         ประชาชนจังหวัดลพบุรีได้รับความเดือดร้อน ได้รับความไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยสาเหตุดังนี้
                   กฎกระทรวงฉบับที่  ๕๖ (พ.ศ.2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและ          สงวนป่า พุทธศักราช 2481 ให้ป่าไชยบาดาล ในท้องที่ตำบลหนองยายโต๊ะ, ตำบลบัวชุม, ตำบลมะกอกหวาน และตำบลมะนาวหวาน อำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้เป็น          ป่าสงวน มีเนื้อที่ประมาณ 880.00 ตารางกิโลเมตร
                   ต่อมากฎกระทรวงฉบับที่ 66 (พ.ศ.2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 ให้ป่าซับลังกา ในท้องที่ตำบลบัวชุม และตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอไชยบาดาล จังหวัดลพบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวน มีเนื้อที่ประมาณ 398.38               ตารางกิโลเมตร
                   ต่อมากฎกระทรวงฉบับที่ 397 (พ.ศ.2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 กำหนดให้ป่าวังเพลิง ป่าม่วงค่อม และป่าลำนารายณ์ในท้องที่ตำบลเพนียด                     ตำบลมหาโพธิ์ ตำบลสระโบสถ์ อำเภอโคกสำโรง และตำบลชัยบาดาล ตำบลบัวชุม ตำบลมะกอกหวาน    อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตามแผนที่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติเนื้อประมาณ 447,082 ไร่
                   ต่อมากฎกระทรวงฉบับที่ 410 (พ.ศ.2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 กำหนดให้ป่าชัยบาดาล ในท้องที่ตำบลชัยบาดาล ตำบลบัวชุม ตำบลมะกอกหวาน  ตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล และตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 565,431 ไร่
                   ต่อมาพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2521  ฉบับพิเศษ หน้า 19 เล่ม95 ตอนที่ 141 ราชกิจจานุเบกษา 15 ธันวาคม 2521ให้ที่ดินในเขตท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็น            เขตปฏิรูปที่ดิน
                   ต่อมากฎกระทรวงฉบับที่ 1,083 (พ.ศ.2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้ป่าชัยบาดาล ในท้องที่ตำบลท่ามะนาว ตำบลหนองยายโต๊ะ ตำบลนาโสม                     ตำบลชัยบาดาล ตำบลซับตะเคียน ตำบลหนองรี ตำบลท่าดินดำ ตำบลซับสมบูรณ์ ตำบลบัวชุม                      อำเภอชัยบาดาล ตำบลหนองผักแว่น ตำบลท่าหลวง ตำบลแก่งผักกูด ตำบลทะเลวังวัด ตำบลซับจำปา          กิ่งอำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล และตำบลน้ำสุด ตำบลห้วยขุนราม ตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
                   ต่อมาพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลกุดเพชร ตำบลเขารวก ตำบลลำสนธิ ตำบลหนองรี ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ ตำบลเกาะรัง ตำบลศิลาทิพย์ ตำบลบ้านใหม่สามัคคี                     ตำบลหนองยายโต๊ะ ตำบลนาโสม ตำบลนิคมลำนารายณ์ ตำบลชัยนารายณ์ ตำบลบัวชุม ตำบลห้วยหิน  ตำบลเขาแหลม ตำบลซับตะเคียน ตำบลม่วงค่อม อำเภอชัยบาดาล และตำบลท่าหลวง ตำบลแก่งผักกูด ตำบลหัวลำ ตำบลทะเลวังวัด ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2553                          ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 39 ก หน้า 21 24 มิถุนายน 2553
                   ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลกุดเพชร ตำบลเขารวก ตำบลลำสนธิ ตำบลหนองรี ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ ตำบลเกาะรัง ตำบลศิลาทิพย์ ตำบลบ้านใหม่สามัคคี ตำบลหนองยายโต๊ะ ตำบลนาโสม           ตำบลนิคมลำนารายณ์ ตำบลชัยนารายณ์ ตำบลบัวชุม ตำบลห้วยหิน ตำบลเขาแหลม ตำบลซับตำเคียน          ตำบลม่วงค่อม อำเภอชัยบาดาล และตำบลท่าหลวง ตำบลแก่งผักกูด ตำบลหัวลำ ตำบลทะเลวังวัด            ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็น             เขตปฏิรูปที่ดิน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์            และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ด้วยเหตุดังกล่าวมาข้างต้นประชาชนที่อยู่อาศัยทำกินในท้องที่ดังกล่าว มีการยกเลิก นส. ๓                 โดยอ้างว่าออกทับที่ป่า บางรายอ้างว่ายกเลิกเพื่อไปออกโฉนดแต่ก็ไม่มีใครได้รับโฉนด จึงยังไม่มีกรรมสิทธิ์          ในที่ดินเป็นของตนเอง ไม่มีหลักประกันในการดำรงชีพ ไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐได้ นับว่าเป็นความเดือดร้อนอันแสนสาหัส และปรากฏขึ้นมาช้านานแล้ว บางคนอยู่ในท้องที่ดังกล่าวตั้งแต่รุ่นปู่ เป็นความไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในท้องที่นี้ ขาดความมั่นคงในชีวิตความมั่นคงในทรัพย์สิน และมีอนาคตที่เลื่อนลอย ทำให้ประชาชนต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ
         ทั้งนี้ สภาพแห่งความเป็นจริงประชาชนได้อาศัยอยู่ในท้องที่ดังกล่าวโดยได้รับอนุญาตเพราะเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ได้เสียภาษี ภบท. ๕ ให้กับรัฐ แต่ต่อมาพบว่ามีการยกเลิกเอกสารสิทธิที่ดิน นส3ก และโฉนดที่ดินในเขตอำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าหลวง โดยอ้างว่าออกทับที่ป่า และบางส่วนได้ระบุว่าเพื่อออกโฉนด          แต่ไม่มีประชาชนได้รับโฉนดดังกล่าว อีกทั้งยังพบว่าผังเมืองใหม่ยังกำหนดให้ป่าอนุรักษ์ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่เขียวทแยงขาวไว้แล้ว เพื่อคืนให้กับกรมป่าไม้ เหตุจะคืนพื้นที่ให้ป่า ทั้งๆ ที่               พื้นที่นี้เป็นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ มีเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มีวัดหลายสิบวัด มีโรงเรียนหลายสิบโรง มีตลาด มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีสหกรณ์โคนมหลายแห่ง               พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เลี้ยงโคนม พื้นที่ปลูกอ้อย ข้าวโพดพอทำให้ชาวบ้านมีรายได้เลี้ยงชีพแต่ไม่มีความมั่นคงเพราะ ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างแท้จริง ตามเอกสารภาพถ่าย (เอกสารภาพถ่ายหน้าที่ 21 - 34 )
          แต่พื้นที่ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ติดอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภูเขาสูง ป่าไม้ หุบเขา แต่กลับมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินเป็นโฉนด ที่ทั้งบ้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บ้านนายสรยุทธ ผู้ประกาศข่าวช่อง ๓ บ้านของตระกูลชินวัตร ตามเอกสารภาพถ่าย (เอกสารภาพถ่ายหน้าที่ 55 - 112) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่เจริญอย่างมาก แตกต่างจากจังหวัดลพบุรี เป็นความเหลื่อมล้ำ                    ความไม่เป็นธรรม ที่ประชาชนอำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล อำเภอลำสนธิ ได้รับความเดือดร้อนอย่างสาหัสมายาวนาน และยังอาจถูกสัมปทานเหมืองทองคำมาขับไล่ออกจากที่ดินอีกต่างหากเพราะ                            ได้ขอสำรวจไว้แล้ว และคำขอดังกล่าวจะเป็นสิทธิของผู้ขอตามพระราชบัญญัติแร่ พุทธศักราช 2510              มาตรา ๑๒๓๐                                 
“ในเขตอาชญาบัตรผูกขาดสํารวจแร่ เขตอาชญาบัตรพิเศษ หรือเขตเหมืองแร่ หรือในเขตที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทราย หรือในเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กําหนดเขตเพื่อการดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตเข้าไปยึดถือครอบครอง ทําลาย หรือทําให้เสื่อมสภาพพื้นที่หรือทรัพยากรในเขตนั้น เว้นแต่ผู้นั้นมีสิทธิทําเช่นนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย”
ดังนั้นจึงให้ยกเลิกคำขออาชญาบัตร อาชญาบัตรพิเศษสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ คำขอสัมปทานทั้งหมด ออกจากที่ดินของประชาชน เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
         ๓. จังหวัดพิษณุโลก
         ราษฎรในพื้นที่ อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากสาเหตุ  ดังนี้
         กฎกระทรวงฉบับที่ 167 (พ.ศ.2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ            พ.ศ.2507 กำหนดให้ป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลชัยนาม ตำบลวังนกแอ่น ตำบลวังทอง ตำบลชมพู ตำบลท่าหมื่นราม และตำบลบ้านมุง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ภายในแนวเขตแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 479,375 ไร่

         ด้วยเหตุดังกล่าวมาข้างต้นประชาชนที่อยู่อาศัยทำกินในท้องที่ดังกล่าวจึงยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน           เป็นของตนเอง ไม่มีหลักประกันในการดำรงชีพ ไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐได้ นับว่าเป็นความเดือดร้อนอันแสนสาหัส และปรากฏขึ้นมาช้านานแล้ว บางคนอยู่ในท้องที่ดังกล่าวตั้งแต่รุ่นปู่ เป็นความไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในท้องที่นี้ ขาดความมั่นคงในชีวิตความมั่นคงในทรัพย์สิน และมีอนาคตที่เลื่อนลอย ทำให้ประชาชนต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ
         ทั้งนี้ สภาพแห่งความเป็นจริงประชาชนได้อาศัยอยู่ในท้องที่ดังกล่าวโดยได้รับอนุญาตเพราะเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ได้เสียภาษี ภบท. ๕ ให้กับรัฐ ต่อมารัฐได้จัดการปฏิรูปที่ดิน บางคนก็ได้สิทธิ สปก. ๔-๐๑            บางคนก็ไม่ได้ อีกทั้งในปัจจุบัน สำนักงานปฏิรูปที่ดินไปรังวัดฝังเสาแล้ว แต่ยังไม่ได้ออก สปก. ๔-๐๑               ให้ชาวบ้านให้ครบถ้วนแต่อย่างใด รวมถึงมีการเอาที่ดินจากชาวบ้านคืนเป็นพื้นที่ให้ป่าแล้วบางส่วน ทั้งๆ              ที่พื้นที่นี้เป็นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ มีเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มีวัดหลายสิบวัด มีโรงเรียนหลายสิบโรง มีตลาด มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นพื้นที่ปลูกมะม่วงส่งออกต่างประเทศ ปลูกข้าว มะปรางและผลไม้อีกหลายชนิด พื้นที่ปลูกอ้อย ข้าวโพดพอทำให้ชาวบ้านมีรายได้ เลี้ยงชีพแต่ไม่มีความมั่นคงเพราะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างแท้จริง ตามเอกสารภาพถ่าย (เอกสารภาพถ่ายหน้าที่ 35 - 47 )
          แต่พื้นที่ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ติดอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ภูเขาสูง ป่าไม้ หุบเขา แต่กลับมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินเป็นโฉนด ที่ทั้งบ้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บ้านนายสรยุทธ ผู้ประกาศข่าวช่อง ๓ บ้านของตระกูลชินวัตร ตามเอกสารภาพถ่าย                   (เอกสารภาพถ่ายหน้าที่ 55 - 112) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่เจริญอย่างมาก แตกต่างจากจังหวัดพิษณุโลก              เป็นความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ที่ประชาชนอำเภอเนินมะปรางได้รับความเดือดร้อนอย่างสาหัสมายาวนาน และยังอาจถูกสัมปทานเหมืองทองคำมาขับไล่ออกจากที่ดินอีกต่างหากเพราะได้ขอสำรวจไว้แล้ว และคำขอดังกล่าวจะเป็นสิทธิของผู้ขอตามพระราชบัญญัติแร่ พุทธศักราช 2510 มาตรา ๑๒๓๐                                 
“ในเขตอาชญาบัตรผูกขาดสํารวจแร่ เขตอาชญาบัตรพิเศษ หรือเขตเหมืองแร่ หรือในเขตที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทราย หรือในเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กําหนดเขตเพื่อการดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตเข้าไปยึดถือครอบครอง ทําลาย หรือทําให้เสื่อมสภาพพื้นที่หรือทรัพยากรในเขตนั้น เว้นแต่ผู้นั้นมีสิทธิทําเช่นนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย”
ดังนั้นจึงให้ยกเลิกคำขออาชญาบัตร อาชญาบัตรพิเศษสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ คำขอสัมปทานทั้งหมด ออกจากที่ดินของประชาชน เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ให้กรรมสิทธิตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
         ๔. จังหวัดพิจิตร
         ราษฎรในพื้นที่อำเภอสากเหล็ก ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากสาเหตุ  ดังนี้
         กฎกระทรวงฉบับที่ 167 (พ.ศ.2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ            พ.ศ.2507 กำหนดให้ป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลชัยนาม ตำบลวังนกแอ่น ตำบลวังทอง ตำบลชมพู ตำบลท่าหมื่นราม และตำบลบ้านมุง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ภายในแนวเขตแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 479,375 ไร่

         ด้วยเหตุดังกล่าวมาข้างต้นประชาชนที่อยู่อาศัยทำกินในท้องที่ดังกล่าวจึงยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน            เป็นของตนเอง ไม่มีหลักประกันในการดำรงชีพ ไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐได้ นับว่าเป็นความเดือดร้อนอันแสนสาหัส และปรากฏขึ้นมาช้านานแล้ว บางคนอยู่ในท้องที่ดังกล่าวตั้งแต่รุ่นปู่ เป็นความไม่เท่าเทียมกันของประชาชนในท้องที่นี้ ขาดความมั่นคงในชีวิตความมั่นคงในทรัพย์สิน และมีอนาคตที่เลื่อนลอย ทำให้ต้องกู้ยืมเงินจากนอกระบบ
         ทั้งนี้ สภาพแห่งความเป็นจริงประชาชนได้อาศัยอยู่ในท้องที่ดังกล่าว มีการออกโฉนดให้แล้วยกเลิกโฉนดที่ดิน ในอำเภอสากเหล็กโดยอ้างว่าออกทับที่ป่าลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้ายตามกฎกระทรวง แต่ประชาชนได้อาศัยอยู่ในพื้นที่มายาวนานหลายสิบปีบางพื้นที่ โดยได้รับอนุญาตเพราะเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ได้เสียภาษี ภบท. ๕ ให้กับรัฐ ต่อมารัฐได้ทำการออกโฉนดให้กับประชาชน แต่ได้ทำการยกเลิกโฉนดที่ดินของชาวบ้านแล้ว ด้วยเหตุจะคืนพื้นที่ให้ป่า ทั้งๆ ที่พื้นที่นี้เป็นที่ราบเป็นส่วนใหญ่ มีเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ  มีวัดหลายสิบวัด มีโรงเรียนหลายสิบโรง มีตลาด มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่การเกษตร  พื้นที่ปลูกมะม่วง ข้าวโพด พอทำให้ชาวบ้านมีรายได้เลี้ยงชีพแต่ไม่มีความมั่นคงเพราะยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างแท้จริง ตามเอกสารภาพถ่าย (เอกสารภาพถ่าย 45 - 54) แล้วชาวบ้านได้มีเอกสารมาประกอบจำนวนมาก
          แต่พื้นที่ในตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ติดอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ภูเขาสูง ป่าไม้ หุบเขา หรือที่อื่นๆ แต่กลับมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินเป็นโฉนด ที่ทั้งบ้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บ้านนายสรยุทธ ผู้ประกาศข่าวช่อง ๓ บ้านของตระกูลชินวัตร ตามเอกสารภาพถ่าย (เอกสารภาพถ่ายหน้าที่ 55 - 112) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่เจริญอย่างมาก แตกต่างจากจังหวัดพิจิตร เป็นความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ที่ประชาชนอำเภอสากเหล็กได้รับความเดือดร้อนอย่างสาหัสมายาวนาน และยังอาจถูกสัมปทานเหมืองทองคำมาขับไล่ออกจากที่ดินอีกต่างหากเพราะได้ขอสำรวจไว้แล้ว และคำขอดังกล่าวจะเป็นสิทธิของผู้ขอตามพระราชบัญญัติแร่ พุทธศักราช 2510 มาตรา ๑๒๓๐                                 
“ในเขตอาชญาบัตรผูกขาดสํารวจแร่ เขตอาชญาบัตรพิเศษ หรือเขตเหมืองแร่ หรือในเขตที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อเก็บขังน้ำขุ่นข้นหรือมูลดินทราย หรือในเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กําหนดเขตเพื่อการดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตเข้าไปยึดถือครอบครอง ทําลาย หรือทําให้เสื่อมสภาพพื้นที่หรือทรัพยากรในเขตนั้น เว้นแต่ผู้นั้นมีสิทธิทําเช่นนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย”
ดังนั้นจึงให้ยกเลิกคำขออาชญาบัตร อาชญาบัตรพิเศษสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ คำขอสัมปทานทั้งหมด ออกจากที่ดินของประชาชน เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
          ดังนั้น  จึงควรแก้ไขพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง ดังกล่าวมาข้างต้นเพื่อดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้กับประชาชน ไม่ได้เป็นทำลายป่าไม้ ไม่ได้ส่งเสริมให้คนบุกรุกป่า แต่เป็นการรักษาป่าไม้อย่างยั่งยืน กำหนดของเขตให้ชัดเจนปักเสาหมุดที่ดินของรัฐ และบริหารจัดการที่ดินที่ทำเกษตรกรรมไม่ให้ทำเพียงไร่เลื่อนลอยเพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในสภาพความเป็นจริงที่บ้านเมืองพัฒนาขึ้นไปตามภาพถ่ายที่แนบมา              แต่เป็นการพัฒนา ที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องที่ดังกล่าวมาข้างต้นยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน แตกต่างจากตำบลอื่น อำเภออื่นที่อยู่บนเขาสูง ในป่าไม้ เช่น ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง                 จังหวัดนครราชสีมา หรือจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือของในประเทศไทย นับได้ว่าปัญหาของชาว                   อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี อำเภอท่าหลวง อำเภอชัยบาดาล อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี                     
อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร เป็นตัวอย่างปัญหาสำคัญของประเทศ เป็นตัวอย่างปัญหาความยากจน เป็นตัวอย่างปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นตัวอย่างปัญหาความ          ไม่เป็นธรรม เป็นตัวอย่างปัญหาความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค ซึ่งเมื่อดำเนินการแก้ไขกฎหมายรังวัดออกโฉนดที่ดินให้กรรมสิทธิ์แก่ประชาชน จะเป็นการแก้ไขปัญหาในทางที่ถูกที่ควร จะเกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อให้เกิดการสร้างแรงงาน  กระตุ้นเศรษฐกิจ การเพิ่มทรัพย์สินให้กับประชาชน ประชาชนยังสามารถทำสวนผลไม้ ไม้ยืนต้น ทำเกษตรระยะยาวที่ยั่งยืน การแก้ไขกฎหมายเพื่อรังวัดออกโฉนดที่ดินให้กับประชาชน              เป็นการออกเอกสารกรรมสิทธ์ในที่ดินให้แก่ประชาชน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างมากมาย อาทิ ทำให้ประชาชนมีทรัพย์สินมากขึ้น ทำให้รัฐจัดเก็บภาษีที่ดินได้มากขึ้น รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายของประชาชน ดังตัวอย่างของการประกาศเป็นหมู่บ้านของตำบลหมูสี ที่จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน และจัดสรรเป็นที่ดินให้ประชาชน เป็นเหตุให้ได้รับการออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมาย (ตามเอกสารตัวอย่าง)
         จึงประทานกราบเรียนมายังท่านนายกรัฐมนตรี และคณะ เพื่อพิจารณาออกกฎหมายเพื่อแก้ไขกฎกระทรวงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขเขตที่ดินของรัฐให้รังวัดออกโฉนดที่ดิน                      ออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ประชาชนชาวอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี อำเภอท่าหลวง  อำเภอลำสนธิ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสากเหล็ก              จังหวัดพิจิตร ประชากรราว 280,051 คน 96,428 ครัวเรือนโดยประมาณ เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนอย่างไม่เป็นธรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆ ให้มั่นคงยั่งยืนเพื่อความเจริญของประเทศ เพื่อความมั่นคงของประชาชน
อนึ่งสาเหตุที่ประชาชนมาร่วมลงชื่อออกโฉนดที่ดินน้อย เพราะถูกผู้นำท้องถิ่นห้ามลงชื่อใดๆ ทั้งสิ้นมาตลอด รวมถึงคัดค้านนโยบายทองคำ คัดค้านสัมปทานทองคำ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.2558 ที่ผ่านมาด้วย
          จึงประทานกราบเรียนขอความเมตตามายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เพื่อให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ยากจน ค้นแค้นแสนเข็ญ ไร้ที่ดินทำกิน ไร้ทรัพย์สินอันเป็นสมบัติสืบต่อลูกหลาน เนื่องจากประชาชนได้รับความเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกินมาหลายยุค หลายสมัย หลายรัฐบาล ถูกเหยียบย้ำสิทธิมนุษยชน สิทธิความเป็นคน สิทธิในทรัพย์สิน ถูกเอารัดเอาเปรียบ               ขาดกรรมสิทธิ์ไร้กรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินมายาวนาน จึงขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเป็นการด่วน
         กราบขอขอบพระคุณมาล่วงหน้า ที่ท่านมาความเมตตากรุณาต่อประชาชนเป็นอย่างสูงยิ่ง

ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
 ประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ





รับบริจาคกระดาษ A4 เพื่อชี้แจงปัญหาการทำเหมืองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 50 รีม